เผอิญผมไปเจอแชแนลนึงในยูทูปชื่อ Wendover Productions เป็นช่องที่จะรวม Fact และความรู้ทั่วไปต่างๆ แล้วช่องนี้ก็จะมีซีรีส์นึงที่ชื่อ TWL ย่อมาจาก That Wikipedia List โดยจะมีเนื้อเกี่ยวกับบทความแปลกๆใน Wikipedia ซึ่งมีคอนเซปท์น่าสนใจมากๆผมเลยอยากลองทำดูบ้างครับ

ในวิชาคณิตศาสตร์เราเรียนเรื่องการยกกำลังของตัวเลข ซึ่งก็เป็น Operation ง่ายๆคือการเอาจำนวนนั้นๆมาคูณตัวเองซ้ำๆกันเป็นจำนวนกี่ครั้งๆก็ว่าไป

เช่น 2 ยกกำลัง 5 ก็คือเอา 2 มาคูณกัน 5 ครั้ง 2 x 2 x 2 x 2 x 2 = 32

การยกกำลังบางตัวก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น กำลังสองก็จะเรียกว่า square หรือกำลังสามก็จะเรียกว่า cube

ในสมัยก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 คนเราไม่นิยมเขียนเลขยกกำลังเป็นตัวเลขแบบที่เราเขียนในปัจจุบันกันครับ แต่จะนิยมเขียนกันเป็นคำๆมากกว่า

แต่เอ๊ะ! แล้วมันเขียนยังไงกัน?

ผมไปเจอ article นึงใน Wikipedia ซึ่งมีชื่อยาวมาก Zenzizenzizenzic — Wikipedia อธิบายแนวทางนึงในการเขียนเลขยกกำลังในสมัยโบราณไว้ครับ

Zenzizenzizenzic เป็นชื่อเรียกของการยกกำลัง 8

การเรียกด้วยวิธีการแบบนี้ถูกเสนอไว้โดยนักคณิตศาสตร์ชาวเวลส์ชื่อว่า Robert Recorde โดยคำว่า Zenzi เป็นการออกเสียงคำว่า censo ซึ่งเป็นภาษาอิตาลีในยุคกลางแปลว่า square ในสำเนียงเยอรมัน

ระบบเรียกแบบนี้จะมีคำที่จำเป็นต้องรู้อยู่ 3 คำหลักๆครับคือ

zenzic cubic และ sursolid

zenzic ใช้เรียกกำลังสอง cubic ใช้เรียกกำลังสาม ส่วน sursolid ใช้เรียกกำลังถัดๆไปที่ไม่ใช่ทวีคูณของสองหรือสาม

อธิบายซะยาวมาดูวิธีอ่านกันก่อน

x ยกกำลัง 8 จะอ่านได้ว่า Zenzizenzizenzic ซึ่งถ้ากระจายดูจะได้ว่า x ยกกำลัง 8 ก็คือ x ยกกำลัง 2 คูณกัน 3 ครั้ง เราก็จะอ่านโดยใช้คำว่า Zenzic 3 ครั้ง

กรณีอื่นๆเช่น

x ยกกำลัง 12 เท่ากับ x ยกกำลัง 2 * x ยกกำลัง 2 * x ยกกำลัง 3

จะอ่านได้ว่า Zenzi zenzi cubic

ถ้าตัวชี้กำลังเป็นเลขอื่นๆที่ไม่ใช่ทวีคูณของ 2 หรือ 3 เราจะใช้คำว่า sursolid แทน โดย sursolid จะมีเป็นลำดับๆไปเช่น 5 ก็จะเป็น sursolid อันดับหนึ่ง 7 ก็จะเป็น sursolid อันดับสอง

เวลาเราอ่านอะไรยกกำลัง 7 เราก็จะอ่านว่า bisursolid ซึ่ง bi ก็แปลว่า 2 นั่นเอง


ถึงระบบการเขียนเลขยกกำลังแบบนี้จะใช้งานได้ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ซับซ้อนพอสมควร เพราะเขียนเป็นตัวเลขเลยแบบปัจจุบันง่ายกว่าเยอะครับ 5555

ถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถอ่านได้ที่นี่ Zenzizenzizenzic — Wikipedia


Medium ที่ 39
ปีนี้ผมตั้งใจว่าจะเขียน Medium ให้ได้เดือนละ 4–5 Medium ครับ สิ้นปีก็จะมี 52 Medium เท่ากับจำนวนสัปดาห์ใน 1 ปีพอดี ไม่รู้จะทำได้มั้ย แต่ก็ถือเป็น Passion เล็กๆน้อยๆของผมครับ 5555
ผมเขียนบทความหลายแนวแล้วแต่ว่าอยากเขียนยังไง ถ้าอยากให้กำลังใจช่วยกด Clap ให้ซักที สองทีด้วยนะครับ :D
เจอกันบทความหน้าครับ